วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันอังคารที่ 2 ธันวาคม  2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 101 ห้อง 234

กิจกรรมในวันนี้....(วันปิดคอรส์)

       วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนในวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนความรู้สึก เขียนข้อควรปรับปรุงที่อยากให้อาจารย์ปรับปรุง ดิฉันมีเพียงเล็กน้อยที่อยากให้อาจารย์เข้มงวดมากกว่านี้ อาจารย์ใจดีไปนิดนึงค่ะ ทำให้ทุกคนร่วมถึงตัวดิฉันด้วยไม่ค่อยตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ชอบคุยกัน เล่นกัน ดิฉันมีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนวิชานี้กับอาจารย์ มีความรู้สึกสนุกเป็นกันเองไม่เครียด เวลาที่เจอเรื่องเครียดๆอาจารย์ก็จะได้คำปรึกษาตลอด อาจารย์น่ารักมากๆเลยค่ะ                    
       วันนี้อาจารย์มีของรางวัลมาแจกสำหรับคนที่ได้คะแนนในใบคะแนนเยอะที่สุด ซึ่งดิฉันไม่คิดว่าตัวเองจะได้ด้วยซ้ำแต่ปรากฏว่าดิฉันได้คะแนนเยอะที่สุดในห้อง ดีใจมากๆเลยค่ะ และยังมีเพื่อนในห้องได้ด้วย รวมทั้ง 7 คน อาจารย์ให้เป็นตุ๊กตามือแม่เหล็กมุ๊งมิ๊งมากๆเลยค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากๆเลย และสุดท้ายนี้ดิฉันอยากขอบคุณอาจารย์สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง คำแนะนำต่างๆ เทคนิคต่างๆเกี่ยวกับวิชาที่เรียน ในเทอมหน้าดิฉันอยากจะเรียนกับอาจารย์เบียร์อีก และถ้าเป็นไปได้อยากจะเรียนกับอาจารย์ในทุกๆเทอมเลยค่ะ จุ๊ฟฟฟ...:3

ขอบคุณอาจารย์เบียร์สำหรับของรางวัลน้าค่ะ

  





วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 101 ห้อง 234

ความรู้ที่ได้รับ...
วันนี้เรียนเรื่อง เด็กสมาธิสั้น (ADHD)

สรุปเป็น Mind Map ดังนี้

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น
   - การใช้ยา (ไม่ใช่หน้าที่ครู)
   - ปรับพฤติกรรม หรือ การฝึกฝนการควบคุมตัวเอง (หน้าที่ครู)
   - การปรับสภาพแวดล้อม (หน้าที่ครู)

การปรับพฤติกรรม 
     - จัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก >>> จัดให้เหมือนเด็กปกติ/ไม่มีตารางชีวิตเป็นของตัวเอง
     - ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี >>> เสริมแรงเด็ก (ชมเด็กบ่อยๆ)
     - ลงโทษให้ถูกวิธี >>> ลดแรงขับ คือ ห้ามทำในสิ่งที่ตนเองชอบ
** เมื่อเด็กไม่สนใจทำกิจกรรม ให้ >>> สังเกตเด็กก่อน >>> เรียกชื่อ (สำคัญมาก) >>> สัมผัสคลูบตัว (กอด) >>> ถ้าเกิดยังไม่ฟังให้ดึงกลับมา

การจัดสภาพแวดล้อม
     - ห้องเรียนต้องสงบๆ 
     ** เลือกที่นั่งให้เด็กสมาธิสั้นต้องนั่งให้ใกล้ครูนั่งให้ห่างจากประตูมากที่สุดคนที่นั่งข้างๆเด็กต้องเป็นเด็กที่เงียบไม่ค่อยคุย

การสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น
     - ต้องคุยสั้นๆกระชับ ได้ใจความ
     - ควรเข้าไปหาเด็กและใช้การกระทำร่วมด้วย >>> เข้าๆไปหาเด็กและเดินมาด้วยกัน
    
กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้น >>> คลิ๊ก

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
     - สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ) **ใหญ่สุด คลิ๊ก
     - โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ (เด็กกำพร้า)
     - ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention : EI) **ศูนย์สังกัดอยู่มหาวิทยาลัยที่มีสาชาการศึกษาพิเศษ
     - โรงเรียนเฉพาะความพิการ
     - สถาบันราชานุกูล **หน่วยงานให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษทุกประเภท
     - มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง

วันนี้อาจารย์ได้นำวีดิโอตัวอย่างของศูนย์ EI มาให้ดู

ตัวอย่างวิดีโอศูนย์ EI

จากการดูวิดีโออาจารย์ให้ทำ Mind Map สรุปเกี่ยวกับศูนย์ EI ที่ได้ดูไปเมื่อข้างต้น

การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถดูแลและพัฒนาเด็กสมาธิสั้นได้อย่างถูกวิธี
2. สามารถนำมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเมื่อเราเจอเด็กสมาธิสั้น
3. รู้เกี่ยวกับหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในด้านเด็กพิเศษที่หลากหลายแตกต่างกันไป

ประเมินหลังการเรียนการสอน...
 ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ในขณะที่สอน อาจเป็นเพราะนั่งแยกกับเพื่อนแต่จะมีชวนเพื่อนคนข้างๆคุยบ้าง มีจดรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำคัญๆที่อาจจะออกสอบนอกจากในชีส ตั้งใจดูและฟังวีดิโอที่อาจารย์นำมาเปิดให้ดู ในการทำกิจกรรมอาจจะไม่ค่อยช่วยเพื่อนเขียนเพราะเป็นคนเขียนหนังสือตัวใหญ่เพื่อนเลยไม่ให้เขียนแต่ช่วยออกความคิดเห็นในการทำ Mind Map เป็นอย่างดี
 เพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์สอนกันเป็นอย่างดี มีพูดคุยกันบ้างเป็นเรื่องปกติมีการจดบันทึกนอกจากในชีส ตั้งใจฟังวีดิโอที่อาจารย์นำมาเปิดให้ดูมีการตอบคำถามในชั้นเรียนเพื่อเพิ่มสีสันให้น่าเรียนมากขึ้น ในการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อนๆแต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี
 อาจารย์ : ตั้งใจสอนเป็นอย่างมาก บางส่วนมีการอธิบายเพิ่มเติมจากในชีสและมีการบอกว่าตรงไหนออกสอบให้ไปจำกันมา มีการแสดงบทบาทสมมุติประกอบการเรียนโดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมด้วย ทำให้การเรียนในครั้งนี้มีชีวิตชีวามากขึ้นกว่าครั้งที่แล้วและยังทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น วันนี้อาจารย์มีวีดิโอมาให้ดูเพื่อให้นึกศึกษาเข้าใจถึงเนื้อหามากกว่าเดิม ในการดูวีดิโออาจารย์จะไม่พูดอาจารย์ให้นักศึกษาดูกันเงียบๆ ให้นักศึกษาตั้งใจดูและนำสิ่งที่ดูมาทำกิจกรรม เพื่อสรุปความรู้ที่เราได้ดูจากวีดิโอ 



วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 101 ห้อง 234

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้ไปเข้าร่วมกิจกรรมของทางสาขา
"กิจกรรม ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย"

ประมวลภาพนักแสดง
จบกิจกรรม


การนำความรู้ไปใช้...
     สามารถนำไปประยุกต์ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กในอนาคตได้ เลือกการแสดงที่ท่าไม่ยากจนเกินไปท่าที่สามารถให้เด็กรำได้ อีกทั้งในการจัดงานในครั้งนี้ยังทำให้เราได้ประสบการณ์จากสถานการณ์จริงมีการฝึกคิดแก้ปัญหาและทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะอีกด้วย

ประเมิน...
ตนเอง : ช่วยเพื่อนเตรียมงาน ช่วยเพื่อนแต่งตัวเป็นอย่างดี เพราะเพื่อนในกลุ่มไปเป็นตัวแทนในการรำและยังมีไปเป็นพิธีกรในการดำเนินกิจกรรม วันนี้เลยไปเป็นกำลังใจให้เพื่อนเต็ม 100
เพื่อน : วันนี้เพื่อนทุกคนเต็มที่กับงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักแสดงก็แสดงออกมาอย่างสวยงามทุกชุดการแสดง หรือคนที่จัดเตรียมงานก็จัดเตรียมงานออกมาได้เป็นอย่างดี ทำให้งานในวันนี้ออกมาดีเป็นที่น่าพอใจ
 อาจารย์ : อาจารย์ให้คำปรึกษาดีมากๆเลย ค่อยให้คำแนะนำตลอดว่าควรทำยังไง ทำแบบไหนถึงจะดี แม้แต่วันนี้ชนกับเวลาเรียนของอาจารย์ อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรม ให้นักศึกษาไปทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์น่ารักมากๆเลย  ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ                                                                           



วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 น. กลุ่ม 101 ห้อง 234


ความรู้ที่ได้รับ...
วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบกลางภาค

      ในวันนี้อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบกลางภาคทำให้เราได้รู้ว่าเราทำผิดข้อไหนบ้าง ในข้อที่เราไม่มั่นใจว่าตอบข้อนี้ถูกไหมทำให้ได้รู้ว่าตอบอะไร ในส่วนคะแนนสอบอาจจะไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจเท่าไหร่ แต่ในครั้งต่อไปจะตั้งใจอ่านหนังสือให้มากและจะทำคะแนนให้ดีกว่าครั้งนี้แน่นอน ค่ะ

ประเมินหลังการเรียนการสอน...

   ตนเอง : จากผลคะแนนสอบวันนี้ทำให้รู้ว่าจะต้องตั้งใจอ่านหนังสือให้มากกว่านี้เพื่อคะแนนสอบในครั้งต่อไป ควรจะอ่านข้อสอบให้ละเอิียดรอบคอบ ข้อไหนที่ไม่มั่นใจให้เว้นไว้ก่อนแล้วค่อยกลับมาทำ เพราะส่วนมากข้อที่ผิดมักจะเป็นข้อที่ไม่มั่นใจ
  เพื่อน : คะแนนของเพื่อนในห้องอยู่ในขั้นดี รู้ได้เลยว่าเพื่อนอ่านหนังสือกันมา มีส่วนร่วมในการเฉลยข้อสอบเพื่อนๆในห้องช่วยกันตอบคำถามทำให้ทุกคนได้รู้ว่าตนเองผิดข้อไหนบ้า
    อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบให้ฟังเป็นเรื่องที่ดี ทำให้เราได้รู้ว่าเราผิดพลาดข้อไหนบ้าง อาจารย์บอกว่าวันนี้ห้องเรียนเราเงียบผิดปกติ อาจจะเป็นเพราะทุกคนกำลังอึ้งกับคะแนนและตั้งใจฟังในการเฉลยข้อสอบเลยไม่ค่อยได้คุยกัน อาจารย์บอกเทคนิคเล็กๆน้อยๆ เผื่อสอบครั้งหน้าทุกคนจะได้ทำข้อสอบได้



วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 101 ห้อง 234


ความรู้ที่ได้รับ...

วันเรียน ประเภทเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) : คลิ๊ก
    - มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
    - แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
    - มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
*** อารมณ์อยู่เหนือความคิดประมาณ 60% ของเด็กปฐมวัย

ความแตกต่างระหว่าง อยู่ไม่สุข (Hyperactivity) กับ สมาธิสั้น (Attention Deficit)

อยู่ไม่สุข (Hyperactivity) >>> อยู่ไม่นิ่ง หรือเด็กซนทั่วไป
สมาธิสั้น (Attention Deficit) >>> ทำอะไรไม่ได้นาน ทำงานไม่สำเร็จซักอย่าง
เรียนรู้เพิ่มเติม : คลิ๊ก

2. เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps) : คลิ๊ก , คลิ๊ก

สรุปเป็น Mind Map ดังนี้



การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถแยกแยะเด็กออกได้ ระหว่างเด็กไฮเปอร์และเด็กสมาธิสั้น
2. รู้วิธีรับมือกับเด็กสมาธิสั้นซึ่งเราจะพบมากให้เด็กปฐมวัย
3. ได้เข้าใจพฤติกรรมของเด็กพิเศษเพิ่มมากขึ้น และ วิธีการดูแลเพื่อนำไปพัฒนาเด็กต่อไป

ประเมินหลังการเรียนการสอน...
ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา เข้าใจเนื้อในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี ตั้งใจเรียนแต่มีคุยกับเพื่อนบ้าง
เพื่อน : มาเรียนตรงเวลา เพื่อนๆสนใจในการเรียนและมีส่วนร่วมในห้องเรียน แต่อาจจะมีคุยกันบ้างเล็กน้อย
อาจารย์ :  มาสอนตรงเวลา มีเนื้อหาการสอนที่ละเอียดครบถ้วนเข้าใจง่าย มีการนำวิดีโอมาเปิดให้ดูเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น





วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารณ์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันอังคารที่ 14 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 12.20 - 15.00 กลุ่ม 101 ห้อง 234


ความรู้ที่ได้รับ ...
วันนี้เรียน ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)

  1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children With Learning Disabilities) >>> เรียกย่อๆว่า L.D. 
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง : คลิ๊ก

  2. ออทิสติก (Autistic) >>> คำนิยาม : "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"
*** เด็กออทิสติดจะเป็นไปตลอดชีวิต : คลิ๊ก

สรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้


การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถเข้าใจเด็กทั้ง 2 กลุ่มเพิ่มมากขึ้นและได้รู้จักวิธีการสังเกต
2. ได้นำความรู้ไปพัฒนาเด็กพิเศษทั้ง 2 กลุ่มว่าควรพัฒนาด้านไหน อย่างไร

ประเมินหลังการเรียน ...
ตนเอง :  มาเรียนตรงเวลา เข้าใจเนื้อในการเรียนการสอน แต่มีคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย
เพื่อน : มาเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการเรียน ตั้งใจเรียน มีคุยกันย้างเล็กน้อย
อาจารย์ :  มาสอนตรงเวลา เนื้อหาในการสอนมีครบถ้วนละเอียดเข้าใจง่าย มีวีดิโอมาให้ดูประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพและเข้าใจเพิ่งยิ่งขึ้น